3.เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี



                            หน่วยที่ 3 เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

    ตัวโน้ต คือ เครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนเสียงดนตรี โน้ตเพลงไทยมีสัญลักษณ์ดังนี้
โน้ตเพลงไทย

1.   สัญลักษณ์ของโน้ตเพลงไทย

                   โน้ตตัว    โด   แทนด้วยอักษร      ด

                   โน้ตตัว    เร   แทนด้วยอักษร       ร

                   โน้ตตัว    มี   แทนด้วยอักษร          ม

                   โน้ตตัว    ฟา   แทนด้วยอักษร       ฟ

                   โน้ตตัว    ซอล   แทนด้วยอักษร    ซ

                   โน้ตตัว    ลา   แทนด้วยอักษร        ล

                   โน้ตตัว    ที   แทนด้วยอักษร         ท

        สำหรับโน้ตที่มีเสียงสูงหรือเสียงคู่แปด จะใช้เครื่องหมายจุด  บนตัวโน้ตตัวนั้น  o ถ้าโน้ตที่มีเสียงต่ำ จะใช้เครื่องหมายจุด  •  ด้านล่างตัวโน้ตนั้น

  2.  การบันทึกโน้ตเพลงไทย

        การบันทึกโน้ตเพลงไทยจะแบ่งเป็น 8 ห้องต่อ 1 บรรทัด และใน 1 ห้องจะมีการบันทึกตัวโน้ต 4 ตัว เช่น ตัวอย่างโน้นเพลงลาวดวงเดือน   
รูปโน้ตเพลงลาวดงเดือน

       จำนวนตัวโน้ตในแต่ละห้องจะมีจำนวน 4 ตัว 3 ตัว 2 ตัว 1 ตัว หรือไม่มีตัวโน้ตนั้นก็ขึ้นอยู่กับทำนองเพลง ถ้าห้องนั้นมีตัวโน้ตไม่ครบจะใช้เครื่องหมาย – ขีด แทนที่ตำแหน่งของตัวโน้ตที่อยู่ในห้องเป็นการบอกความหมายของเสียงโน้ตตัวที่อยู่ข้างหน้าให้มีเสียงยาวขึ้น

          -           ความยาวเสียงเท่ากับ ¼ จังหวะ
        - -          ความยาวเสียงเท่ากับ ½ จังหวะ
        - -   -      ความยาวเสียงเท่ากับ ¾ จังหวะ
       - -  -  -    ความยาวเสียงเท่ากับ 1 จังหวะ

3.    การอ่านโน้ตเพลงไทย
       การอ่านโน้ตเพลงไทยมีวิธีการอ่านเหมือนกับการอ่านหนังสือ คือ อ่านจากซ้ายไปขวาและจะต้องออกเสียงตัวโน้ตแต่ละห้องอย่างสม่ำเสมอด้วยเวลาที่เท่ากันและใน 1 บรรทัดจะต้องอ่านโดยให้เวลาเท่สกันทุกบรรทัด

4.    โน้ตเพลงไทยอัตราจังหวะ 2 ชั้น
      อัตราจังหวะ 2 ชั้น คือ อัตราจังหวะที่เป็นจังหวะปานกลาง ไม่ช้าและไม่เร็วจนเกินไป จะมีความยาวมากกว่าอัตราจังหวะชั้นเดียว เพลงไทยอัตราจังหวะ 2 ชั้น นิยมใช้ในการแสดง โขน ละคร เพราะเป็นเพลงที่มีลีลาเหมาะแก่การร่ายรำ มีความกะทัดรัด เหมาะสำหรับดำเนินเรื่อง

โน้ตเพลงสากล

1. สัญลักษณ์โน้ตเพลงสากล  ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรพดับเสียงสูงหรือต่ำของดนตรีสัญลักษณ์ของโน้ตสากล

                                












       



2. ตัวโน้ต และตัวหยุด (Note & Rest)


           


                  ตัวโน้ต (Note) เป็นสัญลักษณ์ที่บักทึกแทน ความสั้น-ยาว ของเสียง




     -   โน้ตตัวกล   มีอัตราความยาวของเสียง 4 จังหวะ ( 1-2-3-4 ) เป็นตัวกำหนดให้ลากเสียงยาว
   เท่ากับการที่เรานับ 1-4 จึงจะหยุด
     -    โน้ตตัวขาว      มีอัตราความยามของเสียง 2 จังหวะ ( 1-2 ) เป็นตัวกำหนดให้ลากเสียงยาวเท่ากับ การที่เรานับ 1-2 จึงจะหยุด

     - โน้ตตัวดำ   มีอัตราความยาว 1 จังหวะ เป็นตัวกำหนดให้ลากเสียงยาวเท่ากับการที่เรานับ 1 จึงจะหยุด
     -   โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น   มีอัตราความยาวเท่ากับ เศษ1ส่วน2 ของจังหวะโน้ตตัวดำ มีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวดำ

2.    กุญแจประจำหลัก



 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)


                                                


          กุญแจประจำหลักเป็นสิ่งที่กำหนดเสียงของโน้ตที่บันทึกบนบรรทัด 5 ส้น เช่น กุญแจซอล   กุญแจฟา

3.    บันไดเสียง

                        

 
 บันไดเสียง คือ เสียงของตัวโน้ตที่ถูกนำมาเรียงไว้ตามลำดับจากต่ำไปหาเสียงสูง เรียกว่าบันไดเสียง

4.    ตัวหยุด
          ตัวหยุด หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้ทำเสียงเงียบหรือหยุดชั่วคราวแต่ว่าจังหวะยังดำเนินต่อไป

5.   เส้นกั้นห้อง

                          
                                                                                                                                                                    6.   เครื่องหมายกำหนดจังหวะ
           เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
                         

                         


                       


7.   การอ่านโน้ตเพลง