3.เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี


หน่วยที่ 3 เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี


คำชี้แจง
          นักเรียนศึกษาเรื่องโน้ตดนตรีไทย,โน้ตดนตรีสากล ได้จากเครื่องมือสื่อสารของนักเรียน จากหนังสือในห้องสมุด จากหนังสือเรียนของนักเรียน หรือศึกษาจาก youtube

วัตถุประสงค์
         1.  นักเรียนได้รู้จักลักษณะของตัวโน้ตดนตรีไทย โน้ตดนตรีสากล
         2.  นักเรียนได้เข้าใจวิธีการอ่านตัวโน้ตดนตรีไทยและโน้ตดนตรีสากลได้ถูกต้อง
         3.  นักเรียนสามารถเขียนโน้ตดนตรีไทยและโน้ตดนตรีสากลได้
        ในการเขียนโน้ตดนตรีนั้นจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ดังนี้








โน้ตดนตรีสากล

        1.  ตัวโน้ต คือ เครื่องหมายที่ใช้สำหรับบอกระดับเสียงดนตรีและความสั้นยาวของเสียงในบทเพลง         ดังนี้
             -  โน้ตตัวกลมมีอัตราความยาวของเสียง 4 จังหวะ ( 1-2-3-4 ) เป็นตัวกำหนดให้ลาก             เสียงยาว
   เท่ากับการที่เรานับ 1-4 จึงจะหยุด                                                                                        -  โน้ตตัวขาว มีอัตราความยามของเสียง 2 จังหวะ ( 1-2 ) เป็นตัวกำหนดให้ลากเสียง      ยาวเท่ากับ การที่เรานับ 1-2 จึงจะหยุด                                             
          -  โน้ตตัวดำ  มีอัตราความยาว 1 จังหวะ เป็นตัวกำหนดให้ลากเสียงยาวเท่ากับการที่เรานับ 1 จึงจะหยุด
         -   โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น  มีอัตราความยาวเท่ากับ เศษ1ส่วน2 ของจังหวะโน้ตตัวดำ มีควายยาวเสียงครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวดำ

       2. บรรทัด 5 เส้น ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ต แสดงระดับเสียงสูง-ต่ำ ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น จะเป็นเส้นตรง 5 เส้นขนานกันและมีช่องระหว่างเส้น 4 ช่อง

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
         การบันทึกตัวโน้ตที่มีเสียงเกินเส้นที่ 5 หรือต่ำกว่าเส้นที่ 1 ให้ใช้วิธีการขีดเส้นสั้นๆเฉพาะตัวโน้ตที่บันทึกเท่านั้น เส้นที่ขีดเพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า เส้นน้อย
                                                                     ...........        .........      ...........
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................    ............     ...........
   3.   กุญแจประจำหลัก
         มีหน้าที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตที่อยู่ในบรรทัด 5 เส้น เหตุที่เรียกว่า กุญแจซอลเพราะว่าเส้นเริ่มของการเขียนสัญลักษณ์นี้จะเริ่มต้นเส้นที่ 2 ซึ่งเป็นเสียงของ ซอล
    4. เครื่องหมายหยุด คือ เครื่องหมายที่ทำให้เสียงเงียบหรือหายไปชั่วขณะหรือชั่วคราวแต่จะนับจังหวะเช่นเดียวกัน
   5    เส้นกั้นห้อง คือ เส้นที่มีขีดขวางตั้งฉากกับบรรทัด 5 เส้น ใช้แบ่งจังหวะเพลงโดยในแต่ละห้องจะมีอัตราจังหวะเท่ากัน










โน้ตดนตรีไทย


  1.   สัญลักษณ์โน้ตดนตรีไทย
       การบันทึกโน้ตดนตรีไทยจะบันทึกด้วยสัญลักษณ์ตัวอักษรแทนเสียงดังนี้
                   โน้ตตัว    โด   แทนด้วยอักษร     
                   โน้ตตัว    เร   แทนด้วยอักษร      
                   โน้ตตัว    มี   แทนด้วยอักษร      
                   โน้ตตัว    ฟา   แทนด้วยอักษร    
                   โน้ตตัว    ซอล   แทนด้วยอักษร   
                   โน้ตตัว    ลา   แทนด้วยอักษร     
                   โน้ตตัว    ที   แทนด้วยอักษร      
   2.  การแบ่งห้องเพลง  การบันทึกโน้ตเพลงจะบันทึกเป็นบรรทัด และในแต่ละบรรทัดจะมีการแบ่งห้อง         เพลงออก เป็น 8 ห้อง
  3.  การแบ่งจังหวะ   ในหนึ่งห้องเพลงจะมีการแบ่งจังหวะออกเป็น 4 จังหวะ หรือโน้ต 4 ตัว ซึงจำนวน       ในแต่ละเพลงอาจจะมีโน้ตทั้ง 4 ตัว 3 ตัว 2 ตัว 1 ตัว หรือไม่มีเลย แต่ถ้าไม่มีเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่มีโน้ต         เลยจะใส่เครื่องหมาย – แทน 1 ขีดจะมีความยาวของจังหวะเท่ากับเสียงของตัวโน้ตหนึ่งตัว
    สรุปได้ว่าลักษณะและเสียงของโน้ตสากล โน้ตดนตรีไทย มีเสียงและรูปร่างลักษณะท่ีแตกต่างกัน     ออกไปนักเรียนต้องสังเกตุและรอบคอบในการอ่าน จำ ให้ดีที่สุด และทบทวนเนื้อหาแล้วทำแบบฝึกท้าย หน่วย 10 ข้อ     
                                                                                                                                                                                              แบบพัฒนาทักษะในการตอบคำถามเพื่อประเมินผล 10 ข้อ


      1.   โน้ตตัวใดที่มีอัตราความยาวของเสียงสั้นที่สุด
            ก.   ตัวกลม                                             ข.   ตัวขาว
            ค.    ตัวดำ                                              ง.   ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น
      2.   นักเรียนเขียนโน้ตตัวขาวกี่ตัวลงในห้องเพลงจึงจะครบ 4 จังหวะ
            ก.   1 ตัว                                               ข.  2 ตัว
            ค.   3 ตัว                                               ง.  4 ตัว
      3.   โน้ตตัวใดที่มีอัตราจังหวะมากที่สุด
            ก.  ตัวกลม                                             ข.  ตัวขาว
            ค.  ตัวดำ                                               ง.  ตัวเขบ็ต
      4.  
            ก.   ห้องที่ 1                                            ข.  ห้องที่ 2
            ค.  ห้องที่ 3                                             ง.  ห้องที่ 4
     5.   เครื่องหมายหยุดหมายถึงข้อใด
            ก.  เครื่องหมายที่ทำให้เสียงสูง                       ข.  เครื่องหมายที่ทำให้เพลงหยุดบรรเลง
            ค.  เครื่องหมายที่ทำให้เสียงเงียบไปชั่วขณะ ง.  เครื่องหมายที่ทำให้บทเพลงมีเสียงหลากหลาย
     6.   ข้อใดคือตัวหยุดของตัวขาว
           ก.                                                         ข.
           ค.                                                         ง.
     7.                       เป็นตัวหยุดของโน้ตตัวใด





    8.                         ข้อใดคือตัวโน้ตของตัวหยุดที่กำหนดให้
         ก.  โน้ตตัวดำ                                            ข.  โน้ตตัวขาว
         ค.  โน้ตตัวกลม                                          ง.   โน้ตตัวเขบ็ตชั้นเดียว
    9.   ข้อใดเขียนสัญลักษณ์โน้ตตัว ซอล ฟา ลา โด ถูกต้อง
         ก.  / ซ ล ด ฟ /                                        ข.   / ด ล ซ ฟ /
         ค.  / ซ ฟ ล ด /                                        ง.  / ด ม ฟ ซ /
   10   โน้ตดนตรีไทยมีการแบ่งห้องเพลงกี่ห้อง
         ก.  5  ห้อง                                               ข.  6  ห้อง
         ค.  7  ห้อง                                               ง.  8  ห้อง