2.จังหวะทำนองประโยคเพลง


หน่วยที่ 2 เรื่อง จังหวะ ทำนอง ประโยคเพลง   


คำชี้แจง
          นักเรียนศึกษาเรื่อง จังหวะ-ทำนอง และประโยคเพลงของเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลได้ด้วยตนเองจากเครื่องมือสื่อสารของนักเรียนหรือศึกษาใน youtube และเนื้อหาที่ครูนำมาให้นักเรียนได้ศึกษาควบคู่กันไป

วัตถุประสงค์
          1.   นักเรียนสามารถศึกษาหาข้อมูลได้จากเครื่องมือสื่อสารของนักเรียนหรือใน youtube
          2.   นักเรียนได้เข้าใจถึงลักษณะของจังหวะ,ทำนอง และประโยคเพลงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น
          จังหวะ หมายถึง การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความสั้นยาวต่างกัน  จังหวะจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเล่นดนตรีและร้องเพลง จังหวะที่ได้ยินในเพลงมีทั้งจังหวะช้าและจังหวะเร็ว จังหวะที่แตกต่างกันจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันออกไป
          อัตราจังหวะ คือ ความเร็ว-ช้า ของจังหวะและอัตราจังหวะของเพลงไทยเดิมแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
         1. อัตราจังหวะ 3 ชั้น  คือ อัตราจังหวะที่มีจังหวะช้า
         2. อัตราจังหวะ 2 ชั้น   คือ อัตราจังหวะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นจากอัตราจังหวะ 3 ชั้น ดังนั้นอัตราจังหวะ 2 ชั้น จึงมีจังหวะปานกลางหรือช้าปานกลาง
          3. อัตราจังหวะชั้นเดียว คือ อัตราจังหวะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นจากอัตราจังหวะ 2 ชั้น อัตราจังหวะชั้นเดียวจึงมีจังหวะเร็ว
         ทำนอง   มายถึง ระดับเสียงสูง ต่ำ สั้น ยาว ที่สลับซับซ้อนสอดคล้องกันไปอย่ามีระบบระเบียบตามหลักการประพันธ์เพลงและเป็นท่วงทำนองที่ไพเราะน่าฟัง                                                            ประโยคเพลง  คือ แนวทำนองที่ดำเนินไปถึงจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยวลีย่อยของทำนองที่สามารถแบ่งวรรคตอนได้ บทเพลงจาก และหลายๆท่อนรวมเป็นบทเพลงจากพยางค์หลายๆพยางค์รวมเป็นวรรค วรรคหลายๆวรรครวมเป็นประโยคเพลง หลายๆประโยคเพลงรวมเป็นท่อน


จังหวะเพลงไทย

จังหวะฉิ่งเพลงไทย


ทำนองประโยคเพลงไทย


        เมื่อนักเรียนเข้าใจ เรื่อง ทำนอง จังหวะ และประโยคเพลงดีแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายหน่วยเพื่อความเข้าใจ